ข่าวสารในปัจจุบัน มีเรื่องการขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า หรือ ข้อมูลส่วนตัวของคนไข้ ออกมาเป็นระยะ ทั้งในต่างประเทศและประเทศไทย และหลายธุรกิจ ตั้งแต่ การท้องเที่ยว โรงพยาบาล ขายปลีก โรงพยาบาล หรือแม้แต่หน่วยงานรัฐ ดังนั้นการดูแลและจัดการข้อมูลส่วนบุคคลจึงมีบทบาทมากยิ่งขึ้น ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2561 (2018) สหภาพยุโรป ได้มีข้อกำหนดให้มีการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อการคลุมครองข้อมูลส่วนบุคคลในชื่อว่า General Data Protection Regulation หรือ GDPR เพื่อให้องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ได้มีการบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของ คนยุโรป ต้องดำเนินการกฎหมายดังกล่าว ในวัน 27 พฤษภาคม 2562 (2019) ประเทศไทยของเราก็มีการประกาศ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562
ด้วยสถานะการระบาดของไวรัส Covid-19 ตั้งแต่ 2562 หลายธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับตัว และ ทำให้การดำเนินธุรกิจในรูปแบบใหม่ New Normal เกิดขึ้น สำหรับธุรกิจทางด้าน แฮลแคร์ (Healthcare) ก็มีการปรับตัวช่วยเช่นกัน และเพื่อการดูแลลูกค้าและคนไข้ให้ดีที่สุด โดยการเว้นระยะเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาด เครื่องมือหนึ่งที่นำมาใช้ในการดูแลคนไข้ คือ การแพทย์ทางไกล (Telehealth หรือ Telemedicine) สามารถมองได้ 3 มุมมองดังนี้ การนำการแพทย์ทางไกลมาใช้จะช่วยและสร้างประโยชน์ในการแพทย์และการรักษา ได้ดังนี้ คนไข้และลูกค้า เพิ่มประสิทธิผลในการรักษาสำหรับสัตว์ป่วย โดยจะช่วยในการรับการรักษาเบื้องต้นได้ทันท่วงที ลดค่าใช้จ่ายในเรื่องการเดินทางและการลดเวลาในส่วนของการทำงานและกิจกรรมที่สำคัญแทนการมารอเพื่อการตรวจรักษา ค่าใช้จ่ายในการรักษาลดลง เนื่องจากการรับบริการหรือการรักษาหากวินิจฉัยหรือพบอาการไม่รุนแรงก็สามารถหายได้ในเวลาอันสั้น เพิ่มการรักษาและการดูแลลูกค้าและสัตว์เลี้ยง สำหรับคนในพื้นที่ที่ห่างไกล และการเข้าถึงการรักษาไม่สะดวก แพทย์ คลินิก และ โรงพยาบาล
Recent Comments